อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ประวัติความเป็นมาของอำเภอปากช่อง
อำเภอปากช่อง
-
-
ข้อมูลทั่วไป
อำเภอปากช่อง ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2500 เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 85 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 171 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 1,825.168 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,040,312.50 ไร อำเภอปากช่องมีประชากรทั้งสิ้น 183,754 คน เป็นชาย 91,501 คน เป็นหญิง 92,253 คน จำนวนครัวเรือน 44,250 ครัวเรือน
-
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสีคิ้วและอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองนครนายก อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก และอำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี -
ประวัติความเป็นมาของอำเภอปากช่อง
- กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีหมู่บ้านเล็กๆ บ้านหนึ่งอยู่ในหุบเขา ซอกภูเขาดงพญาไฟ เส้นทางคมนาคมสะดวกมากทุกสาย (เดินและขี่ม้า เลือกเอา) พื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น อีเก้ง , กวาง , เสือ , สิงห์ , กระทิง , แรด , ช้าง , ลิง , ค่าง อีกทั้งไข้ป่าครบถ้วน โดยเฉพาะไข้มาเลเรีย (พันธุ์เดียวกับเกาะกูด จ.ตราด) ชาวปากช่องรุ่นบุกเบิกล้มตายเกือบหมดหมู่บ้าน หลงเหลือรอดตายมาได้ตำบลขนงพระ ตั้งรกรากจนถึงทุกวันนี้ ไม่กี่หลังคาเรือนเมื่อ พ.ศ. 2430 ชาวบ้านปากช่องขึ้นกับอำเภอจันทึก พอปี พ.ศ. 2434 สมเด็จพระปิยะมหาราช รัชกาลที่ 5 พระมหากษัตริย์ ไทยผู้มีอัจฉริยะเป็นเลิศ เป็นพระกรุณาธิคุณแก่พสกนิกรชาวไทยเป็นล้นพ้น โปรดเกล้าให้สร้างทางรถไฟ จากกรุงสยาม ไปยังหัวเมืองโคราช ซึ่งจำเป็นต้องระเบิดภูเขาเพื่อวาง รางรถไฟ ยาวเป็นช่องทาง เรียกว่า “บ้านปากช่อง” ตั้งแต่นั้นมา จนปี พ.ศ. 2482 ทางการสั่งยุบ ตำบลขนงพระ อำเภอจันทึก ให้บ้านปากช่องไปขึ้นกับ ตำบลจันทึก อำเภอสีคิ้ว.. (ตำบลจันทึก ขณะนี้อยู่ใต้บาดาลในเขื่อนอ่างเก็บน้ำลำตะคอง )
- ปี พ.ศ. 2492 บ้านปากช่องจึงได้รับการยกฐานะเป็น ตำบลปากช่อง ตั้งแต่นั้นมา พ.ศ. 2499 รัฐบาลไทยจับมือกับสหรัฐ สร้างถนนมิตรภาพ ตั้งแต่สระบุรีจนถึงโคราชมอบให้ นับว่าเป็นถนนมาตรฐานชั้นหนึ่ง ทำให้ ตำบลปากช่อง เจริญอย่างรวดเร็ว ทางการจึงยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอปากช่อง เป็นกิ่งได้เพียง 6 เดือน ชาวไทยทั่วทุกภาคหลั่งไหลเข้ามาขุดทองทำไร่เลื่อนลอย และเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก จึงรับการยกฐานะเป็นอำเภอปากช่อง เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ช่วงนั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ให้สร้างวนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตัดถนน ธนะรัชต์เป็นแหล่งท่องเที่ยว จนต่อมาเมื่อ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 ยกฐานะเป็น “อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่” ชาวไทยและชาวต่าง ประเทศมาเที่ยวกันจำนวนมาก และได้ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก เพื่อนุรักษ์ไว้ตลอดกาล ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2543
-
ลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ อำเภอปากช่อง
- เมื่อ พุทธศักราช 2430 ชาวบ้านปากช่องขึ้นกับ ต.ขนงพระ อ.จันทึก ต่อมาปีพ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระราชประสงค์ให้ก่อสร้างทางรถไฟสายแรก กรุงเทพฯ -โคราช สร้างทางผ่านกลางหมู่บ้าน จำเป็นต้องระเบิดภูเขาเพื่อวางทางรถไฟ จึงทำให้หมู่บ้านถูกระเบิดหินทำทางรถไฟเป็นช่อง จึงเรียกว่า “บ้านปากช่อง”
- เมื่อ พุทธศักราช 2482 ทางการสั่งยุบ ต.ขนงพระ อ.จันทึก ให้บ้านปากช่องไปขึ้นกับตำบลจันทึก อำเภอสีคิ้ว
- เมื่อ พุทธศักราช 2492 บ้านปากช่องได้รับการยกฐานะเป็นตำบลปากช่อง
- วันที่ 18 กรกฎาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลปากช่อง
- วันที่ 1 มกราคม 2500 ตั้งกิ่งอำเภอปากช่อง โดยแยกตำบลปากช่อง ตำบลจันทึก ตำบลกลางดง และตำบลหมูสี ออกจากอำเภอสีคิ้ว
- เมื่อ พุทธศักราช 2500 ทหารสหรัฐอเมริกาเข้ามาฝึกซ้อมรบในประเทศไทย ที่จังหวัดนครราชสีมา ได้ก่อสร้างถนนเฟรนชิป หรือถนน “มิตรภาพ” จากสระบุรี-ปากช่อง-นครราชสีมา ไว้เป็นอนุสรณ์ โดยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับมอบ
- วันที่ 23 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะเป็นอำเภอปากช่อง
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลกลางดง
- วันที่ 15 กันยายน 2515 ตั้งตำบลขนงพระ โดยแยกออกจากตำบลปากช่อง
- วันที่ 15 สิงหาคม 2516 ตั้งตำบลหนองสาหร่าย โดยแยกออกจากตำบลจันทึก
- วันที่ 1 มิถุนายน 2520 ตั้งตำบลวังกะทะ โดยแยกออกจากตำบลหนองสาหร่าย
- วันที่ 25 มิถุนายน 2524 ยกฐานะจากสุขาภิบาลปากช่อง เป็นเทศบาลตำบลปากช่อง
- วันที่ 1 พฤษภาคม 2525 ตั้งตำบลโป่งตาลอง โดยแยกออกจากตำบลหมูสี และ ตั้งตำบลคลองม่วง โดยแยกออกจากตำบลวังกะทะ
- วันที่ 1 สิงหาคม 2527 ตั้งตำบลหนองน้ำแดง โดยแยกออกจากตำบลขนงพระ และ ตั้งตำบลวังไทร โดยแยกออกจากตำบลหนองสาหร่าย
- วันที่ 1 สิงหาคม 2529 ตั้งตำบลพญาเย็น โดยแยกออกมาจากตำบลกลางดง
- เมื่อ พุทธศักราช 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 เสด็จประพาสนครราชสีมาโดยทางรถไฟ ขณะเสด็จผ่านสถานีรถไฟปากช่อง เสด็จพระราชดำเนินตลาดสุขาภิบาลปากช่อง และกองวัคซีน
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลกลางดง เป็นเทศบาลตำบลกลางดง
- วันที่ 10 พฤษภาคม 2548 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลปากช่อง เป็นเทศบาลเมืองปากช่อง
-
อำเภอปากช่องแบ่งเขตการปกครองท้องที่ออกเป็น 12 ตำบล 217 หมู่บ้านดังนี้
- ตำบลปากช่อง มีหมู่บ้าน 22 หมู่บ้าน
- ตำบลกลางดง มีหมู่บ้าน 15 หมู่บ้าน
- ตำบลหนองสาหร่าย มีหมู่บ้าน 25 หมู่บ้าน
- ตำบลหมูสี มีหมู่บ้าน 19 หมู่บ้าน
- ตำบลวังกะทะ มีหมู่บ้าน 24 หมู่บ้าน
- ตำบลคลองม่วง มีหมู่บ้าน 21 หมู่บ้าน
- ตำบลจันทึก มีหมู่บ้าน 22 หมู่บ้าน
- ตำบลขนงพระ มีหมู่บ้าน 13 หมู่บ้าน
- ตำบลโป่งตาลอง มีหมู่บ้าน 13 หมู่บ้าน
- ตำบลพญาเย็น มีหมู่บ้าน 14 หมู่บ้าน
- ตำบลหนองน้ำแดง มีหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน
- ตำบลวังไทร มีหมู่บ้าน 18 หมู่บ้าน
-
มีเทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 4 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 9 แห่ง ดังนี
- เทศบาลเมืองปากช่อง
- เทศบาลตำบลกลางดง
- เทศบาลตำบลสีมามงคล
- เทศบาลตำบลวังไทร
- เทศบาลตำบลหมูสี
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสาหร่าย
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังกะทะ
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองม่วง
- องค์การบริหารส่วนตำบลจันทึก
- องค์การบริหารส่วนตำบลขนงพระ
- องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งตาลอง
- องค์การบริหารส่วนตำบลพญาเย็น
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำแดง
-
สภาพทางเศรษฐกิจ
- ด้านเกษตรกรรม
อำเภอปากช่องมีพื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 553,337 ไร่ ครอบครัวเกษตรกร จำนวน 12,690 ครอบครัว พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มีทั้งผลไม้และพืชไร่ เช่น
– ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในปีการผลิต 2549/2550 อำเภอปากช่องมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดทั้งสิ้น 226,289 ไร่ เกษตรกร 6,939 ราย ผลผลิตเฉลี่ย 800 กก./ไร่ ปริมาณผลิตรวม 181,031 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,140,495,300 บาท
– มันสำปะหลัง ในปีการผลิต 2549/2550 อำเภอปากช่องมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง รวมทั้งสิ้น 72,682 ไร่ เกษตรกร 3,155 ราย ผลิตเฉลี่ย 4,500 กก./ไร่ ปริมาณผลผลิตรวม 327,069 ตัน คิดเป็นมูลค่า 392,482,800 บาท
– อ้อยโรงงาน ในปีการผลิต 2549/2550 อำเภอปากช่องมีพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานรวมทั้งสิ้น 32,190 ไร่ เกษตรกร 528 ราย ผลผลิตเฉลี่ย 13,000 กก./ไร่ คิดเป็นมูลค่า 343,145,400 บาท
– ไม้ผลไม้ยืนต้น ได้แก่ น้อยหน่า,มะม่วง,มะขามหวาน มีพื้นที่ปลูกรวมกัน ประมาณ 153,755 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 139,494 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่า 10,169,640 บาท - ด้านการปศุสัตว์
- ด้านเกษตรกรรม
-
สัตว์ที่ เลี้ยงมีโคนม โคเนื้อ ไก่ เป็ด สุกร กระบือ แพะ แกะ กวาง นกกระจอกเทศ สัตว์เศรษฐกิจ ได้แก่ ไก่ โคเนื้อ โคนม และสุกร
ลำดับ | สัตว์เศรษฐกิจ | จำนวนราย/ฟาร์ม/บริษัท | จำนวน(ตัน) | มูลค่า/ปี(บาท) |
1 | โคนม | 1,362 | 43,260 | 294,564,600 |
2 | โคเนื้อ | 1,073 | 9,855 | 147,825,000 |
3 | ไก่พื้นเมือง (เนื้อ) | 3,358 | 71,169 | 7,828,590 |
4 | ไก่พื้นเมือง(ไก่ชน) | 1,874 | 39,288 | 7,857,600 |
5 | ไก่เนื้อ(ไก่กระทง) | 166 | 277,369 | 18,028,985 |
6 | สุกร | – 10 ฟาร์ม
– รายย่อย106ราย |
119,861
3,454 |
335,610,800
9,671,200 |
รวม | 123,315 | 345,282,000 |
3. ด้านอุตสาหกรรม
มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตดำเนินการและประกอบการจำนวน 58 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ โรงโม่หิน โรงงานผลิตเสบียงอาหารสัตว์
4. ด้านการพาณิชย์
– มีสถานบริการน้ำมันขนาดใหญ่ จำนวน 21 แห่ง
– มีธนาคาร จำนวน 15 แห่ง
– มีสหกรณ์ จำนวน 10 แห่ง
5. ด้านการบริการ
– มีโรงแรมรีสอร์ท จำนวน 126 แห่ง
– มีสถานบริการและเริงรมย์ จำนวน 9 แห่ง
– มีสนามกอล์ฟ จำนวน 7 แห่ง
6. ด้านการท่องเที่ยว
– มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ คืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
7.สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ OTOP
– มีผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 5 ดาว ได้แก่
ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ | ผลิตภัณฑ์ |
ไส้กรอกปลาสมุนไพรคุณสุ | กุนเชียงปลา |
นายชรัต ลวิตรังสิมา (เจ๊ดากุนเชียง) | กุนเชียงหมู |
ไร่องุ่นสัตยา | องุ่นปลอดสารพิษ |
8. สภาพสังคม
8.1 ด้านการศึกษา
– มีโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 87 โรงเรียน
-สังกัดเอกชน จำนวน 17 โรงเรียน
8.2 ระบบการศึกษานอกโรงเรียน
กลุ่มสนใจ 13 กลุ่ม
วิชาชีพระยะสั้น 11 กลุ่ม
ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 37 แห่ง
ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง
8.3 การศึกษาอื่นๆ
โรงเรียนปริยัติธรรมแผนกรวม 2 แห่ง
หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล 12 แห่ง
8.4 การศาสนา
– การศาสนา ประชากรทั่วไปนับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 98 ศาสนา
อื่นประมาณร้อยละ 2
– วัด , ที่พักสงฆ์ จำนวน 185 แห่ง
– มัสยิด จำนวน 2 แห่ง
– ศาลเจ้า จำนวน 4 แห่ง
8.5 ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
– งานสงกรานต์
– งานลอยกระทง
– งานน้อยหน่าและของดีเมืองปากช่อง
– งานคาวบอยไนท์
– งานวันสำคัญทางศาสนา ได้แก่ วันมาฆบูชา ,วันวิสาขบูชา ,วันอาสาฬหบูชา, วันเข้าพรรษา ,วันออกพรรษา
8.6 การสาธารณสุข
มีการให้บริการด้านการสาธารณสุข โดยมีสถานบริการ ดังนี้
– โรงพยาบาล ขนาด 120 เตียง จำนวน 1 แห่ง
– สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
– สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน จำนวน 14 แห่ง
– ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง จำนวน 1 แห่ง
– สถานพยาบาลเอกชน จำนวน 3 แห่ง
– คลินิกเอกชน จำนวน 46 แห่ง
– ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 34 แห่ง
– อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 2,300 คน
8.7 การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัย
มีสถานีตำรวจภูธรอำเภอ/ตำบล จำนวน 4 แห่ง ดังนี้
– สถานีตำรวจภูธรอำเภอปากช่อง
– สถานีตำรวจภูธรตำบลกลางดง
– สถานีตำรวจภูธรตำบลหมูสี
– สถานีตำรวจภูธรตำบลหนองสาหร่าย
9. ระบบบริการพื้นฐาน
อำเภอปากช่อง เป็นอำเภอที่มีการคมนาคมที่สะดวกอำเภอหนึ่งของจังหวัด
โดยแบ่งเป็นคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง จัดได้ว่าอยู่ในขั้นสะดวก มีทางรถไฟหลายสายวิ่งผ่าน ได้แก่ สายกรุงเทพมหานคร-นครราชีมา สายกรุงเทพมหานคร -อุบลราชธานี และสายกรุงเทพมหานคร-หนองคาย ถนนสายสำคัญคือถนนมิตรภาพ ซึ่งเป็นถนนระดับประธาน เป็นถนนมาตรฐานการคมนาคมสะดวกสบายรวดเร็ว มีรถยนต์โดยสารประจำทางวิ่งผ่านตลอดเวลา
9.1 การโทรคมนาคมติดต่อสื่อสาร
1. มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 2 แห่ง
2. มีการให้บริการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ โดยมีจำนวน 6,120 คู่สาย
9.2 การสาธารณูปโภค
1. หน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้า จำนวน 1 แห่ง
2. การประปาระดับอำเภอและตำบล/หมู่บ้าน
– การประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 1 แห่ง
– การประปาเทศบาล จำนวน 1 แห่ง
– การประปาหมู่บ้าน จำนวน 112 แห่ง
3. แหล่งน้ำกิน น้ำใช้ ประเภทอื่น
– บ่อบาดาล จำนวน 793 แห่ง
– บ่อน้ำตื้น จำนวน 158 แห่ง
– ถังเก็บน้ำ จำนวน 112 แห่ง
– โอ่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 31,000 แห่ง
10. ทรัพยากรน้ำ
– การแบ่งกลุ่มน้ำของอำเภอปากช่อง แบ่งออกเป็น 3 สายดังนี้
1. ลุ่มน้ำลำตะคอง ไหลจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไปสู่อ่างเก็บน้ำ
ลำตะคอง
2. ลำห้วยไหลลงคลองมวกเหล็กแบ่งเขตระหว่างอำเภอปากช่องกับ อำเภอมวกเหล็ก
3. ลำห้วยที่ไหลลงลำพระเพลิง แบ่งเขตระหว่างอำเภอปากช่องกับ อำเภอวังน้ำเขียว และอำเภอปักธงชัย
– ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,200 – 1,300 มม. / ปี
11. ทำเนียบรายนามผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ
ลำดับที่ | ชื่อ-สกุล | ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายบรรยงก์ สู่พานิช | 18 ก.ย. 2500 - 30 พ.ย. 2506 |
2 | นายอนันต์ อนันตกูล | 6 ธ.ค. 2506 - 22 พ.ย. 2512 |
3 | นายจรินทร์ กาญจนโนทัย | 22 พ.ย. 2512 - 6 พ.ค. 2514 |
4 | นายวิโรจน์ อำมรัตน์ | 27 พ.ค. 2514 - 9 พ.ค. 2516 |
5 | นายจรวย ยิ่งสวัสดิ์ | 17 พ.ค. 2516 - 18 พ.ค. 2518 |
6 | นายไพฑูรย์ สุนทรวิภาต | 1 ธ.ค. 2518 - 10 ต.ค. 2520 |
7 | ร.ต.ชวลิต วิบุลประพันธ์ | 22 ต.ค. 2520 - 1 มิ.ย. 2522 |
8 | นายวิเชียร เขาอินทร์ | 3 มิ.ย. 2522 - 22 ส.ค. 2523 |
9 | ร.ต.เสนาะ ทิพภยะ | 1 ก.ย. 2523 - 8 ต.ค. 2527 |
10 | นายบุญธรรม ใจรักพันธ์ | 8 ต.ค. 2527 - 5 ต.ค. 2529 |
11 | นายไพบูลย์ จินดารัตน์ | 6 ต.ค. 2529 - 22 ม.ค. 2530 |
12 | นายสมบัติ ภมรบุตร | 16 ต.ค. 2530 - 22 ม.ค. 2532 |
13 | นายพงศ์โพยม วาศภูติ | 23 ม.ค. 2532 - 15 ต.ค. 2532 |
14 | นายอาวุธ วิวัฒน์วานิช | 16 ต.ค. 2532 - 1 ก.ค. 2533 |
15 | นายวิสุทธิ์ ตุลสุข | 2 ก.ค. 2533 - 24 มี.ค. 2534 |
16 | นายปัญญารัตน์ ปานทอง | 25 มี.ค. 2534 - 20 ต.ค. 2534 |
17 | นายวิทยา ขิณฑะแพทย์ | 11 พ.ย. 2534 - 5 ต.ค. 2535 |
18 | นายวีรวัฒน์ วรรณกูล | 12 ต.ค. 2535 - 16 ม.ค. 2537 |
19 | นายวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ | 17 ม.ค. 2537 - 13 ต.ค. 2539 |
20 | นายฐานิศร์ น้อยเพ็ง | 14 ต.ค. 2539 - 21 พ.ย. 2542 |
21 | นายพิบูลย์ชัย พันธุลี | 22 พ.ย. 2542 - 4 ก.พ. 2544 |
22 | นายไพบูลย์ ปัญจะ | 5 ก.พ. 2544 - 11 ต.ค. 2547 |
23 | นายสุพล ลีมางกูร | 1 พ.ย. 2547 - 25 ธ.ค. 2548 |
24 | นายประหยัด เจริญศรี | 26 ธ.ค. 2548 - 23 ต.ค. 2550 |
25 | นายคณีธิป บุณยเกตุ | 24 ต.ค. 2550 -23 ม.ค.2554 |
26 | นายวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ | 2 พ.ค. 2554 - 14 ธ.ค. 2557 |
27 | นายปัญญา วงศ์ศรีแก้ว | 26 ม.ค. 2558 - 13 ต.ค. 2560 |
28 | นายสุรพันธ์ ศิลปสุวรรณ | 16 ต.ค. 2560 - ปัจจุบัน |
12. ภาพประวัติศาสต์อำเภอปากช่อง
ภาพโขลงช้าง ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
แผนที่แสดงเขตอำเภอปากช่อง
แผนที่อำเภอปากช่อง
ภาพสวนสาธารณะเขาแคน
VDO นำเสนอสภาพทั่วไปของอำเภอปากช่อง
อ้างอิง www.nakhonratchasima.go.th/district/Pakchong.doc สืบค้น 13 มกราคม 2561
อำเภอปากช่อง บนวิกิพีเดีย สืบค้น 29 มกราคม 2561
ภาพปากช่องในอดีต จากเพจ โคราชในอดีต สืบค้น 29 มกราคม 2561
ภาพเขาแคน ภาพช้าง จาก Facebook คุณ มานพ กวินเลิศวัฒนา สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2561